วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุป โทรทัศน์ครู เรื่องฝึกคิดสร้างสรรค์ ด้วยกิจกรรมศิลปะ (อ.เรณู ทองทา)
กระบวนการพัฒนาสมองของเด็กจะทำได้ดีที่สุดในช่วงก่อน 6 ขวบ ดังนั้นกิจกรรมควรเน้นกิจกรรมที่จะกระตุ้นพัฒนาการให้มากที่สุด อ.เรณู ทองทา ได้ริเริ่มกิจกรรมฝึกความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กชั้นอนุบาล 1 ขึ้นมา โดยใช้วิธีการประดิษฐ์ในวิชาศิลปะมาเป็นสื่อให้เด็กคิดสร้างสรรค์ โดยนำวัสดุใกล้ตัวหลากหลายอย่างมาให้เด็กได้ฝึกคิดประดิษฐ์ตามหัวข้อที่ให้ ไม่มีต้นแบบให้ทำตาม เด็กทุกคนมีอิสระในการคิดการทำ เด็กได้ฝึกทักษะประสาทสัมผัสทั้งกล้ามเนื้อมือและตา รวมถึงทักษะทางสังคมอีกด้วย เด็กทุกคนล้วนผ่านขั้นตอนในการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารโดยเริ่มสื่อสารจากสิ่งที่เขาพบเห็นเช่น คน ต้นไม้ บ้าน เด็กจะสามารถวาดฉากประกอบได้ตอนอายุ 5 - 7 ปี บางครั้งการวาดภาพของเด็กยังไม่ต้องการผลลัพธ์ แต่เป็นความต้องการเพื่อฝึกทำซ้ำๆ เมื่อเขามีทักษะมากพอจะเกิดความมั่นใจในความสามารถของตน ควรจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสฝึกหลากหลายรูปแบบ เด็กควรมีความรู้พื้นฐานในการใช้และดูแลอุปกรณ์ก่อน กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กควรเริ่มจากกระดาษ สีเทียน กาว กรรไกร ใช้พู่กันระบายสี ปั้น ตามลำดับเด็กจะเลือกใช้อุปกรณ์ศิลปะตามแนวทางของตน ดังนั้นควรเปิดโอกาสให้เด็กใช้จินตนาการของตนอย่างเต็มที่ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของสมอง ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย เมื่อเด็กมีทักษะมากพอจะเกิดความมั่นใจในความสามารถของตน เด็กจะใช้จินตนาการของตนอย่างเต็มที่ ศิลปะสร้างสรรค์สามารถเชื่อมโยงการทำงานของสมองหลายด้าน และอวัยวะบางส่วนและพัฒนาจินตนาการโดยเชื่อมโยงประสบการณ์ออกมาเป็นภาพ/รูปทรง เด็กจะได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระทางความคิด ผลงานศิลปะสร้างสรรค์เกิดขึ้นจากการคิดและการตัดสินใจของเด็กปฐมวัย กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีหลากหลายลักษณะได้แก่ การวาดภาพ การสร้างผลงานจากสี การปั้น การพิมพ์ การประดิษฐ์ได้แก่ ฉีก ปะ ตัด พับ สร้างสิ่งประดิษฐ์ ต่อเติม และการประดับตกแต่งได้แก่ จัดดอกไม้ จัดห้อง จัดสวน จัดโต๊ะ ฯลฯ ผลงานศิลปะมีทั้งที่เป็นงาน 2 มิติและ 3 มิติ งานศิลปะสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้เพราะความเหมาะสมของงานกับระดับพัฒนาการและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น พู่กันต้องสะอาด กรรไกรต้องหยอดน้ำมัน กาวต้องเหนียว ใช้สะดวก เมื่อเลิกกิจกรรมต้องให้ทุกคนช่วยกันเก็บล้างและเช็ดอุปกรณ์ ดูแลจัดเก็บให้อยู่ในสภาพเดิม แล้วล้างมือให้สะอาด ครูไม่ควรเว้นกิจกรรมบางอย่างไปเพราะอ้างว่าเลอะเถอะ เพราะทุกกิจกรรมล้วนมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกันดังนั้น ก่อนให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะควรให้ใส่ผ้ากันเปื้อนที่เป็นพลาสติกให้เรียบร้อย และดูแลไม่ให้เด็กถอดจนกว่าจะเก็บล้างอุปกรณ์จนเสร็จเรียบร้อย ผลงานของเด็กแต่ละชิ้นไม่ควรประเมินความสามารถโดยการให้ดาวเพื่อเทียบค่าเป็นระดับ เพราะบางครั้งเด็กอาจทำงานเพื่อต้องการฝึกการใช้อุปกรณ์ให้เกิดความชำนาญเท่านั้นแต่ยังไม่ได้สื่อสารศักยภาพทางการคิด ควรบันทึกชื่อ และลงวันที่ที่เขาได้สร้างผลงาน ครูควรนำผลงานของเด็กมาศึกษาและติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางครั้งเด็กอาจสื่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเขาลงไปที่ผลงาน และการวิจารณ์ผลงานเด็กมีผลกระทบต่อจิตใจเกินกว่าจะคาดคิด เพราะคำพูดของครูที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการยับยั้งความสามารถของเด็กและอาจทำให้เกิดการสร้างงานซ้ำซาก(เพราะคิดว่าครูชอบ) การให้เด็กอธิบายผลงานเมื่อเขายังไม่พร้อมเขาอาจบอกชื่อไปเพื่อให้ครูพอใจแต่อาจไม่สอดคล้องกับงานที่ทำ ควรจัดสถานที่ให้เด็กโชว์ผลงาน ผลงานทุกชิ้นควรให้เด็กเขียนชื่อไว้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (27/09/2554)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ได้สรุปเนื้อที่ได้เรียนมา และอาจารย์ยังบอกเป็นความรู้ว่า การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้นั้นต้องดูหลักสูตร ซึ่งในหลักสูตรมี 4 หัวข้อใหญ่ๆด้วยกันคือ
1.ตัวเรา
2.ธรรมชาติรอบตัว
3.สิ่งต่างๆรอบตัว
4.บุคคลและสถานที่
จากนั้นอาจารย์ก็ให้สรุปร่วมกันว่าที่เรียนมานักศึกษาได้ความรู้อะไรบ้าง นักศึกษาร่วมกันสรุปไดดังนี้
- ความหมายวิทยาศาสตร์
- ความสำคัญวิทยาศาสตร์
- หลักการจัดวิทยาศาสตร์
- การเขียนแผน
- วิธีการเรียนรู้
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย
- สาระสำคัญ
- ประโยชน์
- การเขียนโครงการ
- การบูรณาการ
- การใช้คำถาม
- วิธีการประดิษฐ์ของเล่นวิทย์
- กิจกรรมวิทย์ กระบวนการ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การจำแนก

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14( 19/09/2554)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ให้ส่งแผนที่สั่งให้ไปเขียนในสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มของดิฉันทำมาผิด ทำมาเป็นงานศิลปะ แต่อาจารย์ให้เขียนแผนการจัดกิจกรรมแบบเสริมประสบการณ์ เพราะทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด อาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนที่ถูกต้องและยกตัวอย่างให้ฟังจากแผนที่เพื่อนเขียนมาและบอกวิธีแก้ไขให้แก่นักศึกษา ว่าเราควรนำคำคล้องจ้องหรือเพลงมาใช้ ดีกว่าพูดคุยสนทนา อาจารย์สังเกตุว่านักศึกษาเีงียบๆไป อาจารย์จึงถามอย่างเป็นห่วง และรับฟังปัญหาของนักศึกษา พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่นักศึกษา ทำให้ดิฉันรู้สึกดีใจที่อาจารย์รับฟังนักศึกษา แตวันนี้ก็มีเหตุการณ์ที่น่าตกใจ เพราะเพื่อนเป็นลม เนื่องจากมีโรคประจำตัว อาจารย์จึงหยุดสอนและพาเพื่อนไปโรงพยาบาล

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 (13/09/2554 )

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยดังนี้
-เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น รู้จัก ชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา
-เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ เช่น รู้จัก ครอบครัว ญาติ ชุมชน
-ธรรมชาติรอบตัว เช่น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต
-สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เช่น รู้จักสี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก

บูรณาการทักษะวิทยาศาสตร์กับสาระ
-ศิลปะสร้างสรรค์
-เกมการศึกษา
-การเล่นเสรี
-การเคลื่อนไหวและจังหวะ
-กิจกรรมการแจ้ง
-เสริมประสบการณ์
กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การเขียนแผน
วันจันทร์ ลักษณะ รูปร่าง
วันอังคาร แหล่งที่มา
วันพุธ ประโยชน์
วันพฤหัสบดี โทษ
วันศุกร์ การดูแลรักษา

สมรรถณะ
-กาย คือ เรื่องการเล่นเครื่องเล่นสานม
-อารมณ์ คือ ดนตรี เพลง
-สังคม คือ การช่วยเหลือตัวเอง
-สติปัญญา แยกเป็นภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์ ได้แก่การทดลอง การสำรวจ การสังเกตุ

งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
-เขียนแผนส่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละหน่วย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12(06/09/2554)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว คือ คิดหน่วย และการเขียนกิจกรรมในแต่ละวัน บางกลุ่มก้อมี Mind Mapping บางกลุ่มก้อไม่มี และกลุ่มไหนที่ไม่มี Mind Mapping อาจารย์ก็ให้ทำเพิ่มเติมมาส่งในสัปดาห์ต่อไป และอาจารย์ยังให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่เด็ฏจะได้ทั้งทักษะและความรู้ในกิจกรรมเดียวกัน และอาจารย์ให้ไปเขียนหลักสูตรปฐมวัยมาส่งเพราะเนื่องจากไม่มีใครตอบคำถามอาจารย์ได้ว่ามีอะไรบ้าง และอาจารย์ให้ดูวิดีทัศน์ เรื่อง "ความลับของแสง" และสามารถสรุปได้ดังนี้
แสง เป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นในทะเล แต่แสงเดินทางเร็วมาก เดินทางได้เร็วถึง 300,000 กม./นาที เมื่อไม่มีแสงเราก็จะมองไม่เห็น แต่การที่เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้นั้น เพราะแสงมาส่องกับวัตถุต่างๆ และแสงสะท้อนมากระทบตาเรา ตาเป็นเลนส์ในการรับแสง เราจึงเห็นสิ่งต่างๆได้ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียว และไม่มีทิศทาง
วัตถุของแสงมี 3 ชนิด คือ
-แสงที่ทะลุผ่านไปได้ เรียกว่า วัตถุโปรงแสง
-แสงสะท้อนมาที่ตัวเรา เรียกว่า วัตถุโปรงใส
-แสงที่ไม่สามารถผ่านได้ เรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ไม้ หิน เหล็ก รวมถึงตัวเราก็เป็นวัตถุทึบแสงด้วย สาเหตุที่สามารถแยกเป็นวัตถุโปรงแสงได้ เพราะ เราจะมองเห็นภาพบางส่วนแต่มองไม่ชัด สาเหตุที่แยกเป็นวัตถุโปรงใส เพราะ วัตถุที่แสงผ่านไปได้ทั้งหมด ที่เรามองเห็นได้ทุกส่วน เช่น กระจก สาเหตุที่แยกเป็นวัตถุทึบแสง เพราะ แสงไม่สามารถส่องผ่านวัตถุเหล่านั้นได้ นอกจากนั้นแล้วตาของเราจะมีรูเล็กๆ ที่เรียกว่า รู้รับแสง

การสะท้อนของแสง
-เมื่อเรานำตุ๊กตามาวางไว้หน้ากระจก ที่มีกระจก 2 บานต่อกัน เราจะเห็นภาพตุ๊กตา 2 ตัว แต่ถ้าเราเลื่อนกระจกให้เข้ามาอีกก็จะเห็นตุ๊กตาเพิ่มขึ้นมาอีกหลายๆตัว
การทดลอง การสะท้อนของแสง
-ไฟฉาย
-กระจกเงา
วางกระจกไว้บนพื้นแล้วส่องไฟฉายเป็นเส้นตรง แสงก็จะสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงจากนั้นลองส่องไฟฉายไปแนวเฉียง

การหักเหของแสง
-แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ก็ต่อเมื่อ แสงเดินทางผ่านวัตถุคนละชนิดกันจึงทำให้แสงนั้นหักแห
การทดลอง การอ่านหนังสือผ่านแก้วน้ำ
-แก้วใหญ่ใบใหญ่ใส่น้ำให้เต็มนำข้อความมาแก้วน้ำ ตัวหนังสือจะใหญ่กว่าปกติเพราะ การหักเหของแสงทำให้แสงส่องเข้าไปข้างใน หักเหและกระจายออก

แสงสีขาว
-แสงสีขาวที่เรามองเห็นนั้นจะมีทั้งหมด 7 สี ประกอบด้วย สีแดง เหลือง แสด เขียว คราม ม่วง และสีน้ำเงิน สาเหตุที่ทำให้เราเห็นรุ้งกินน้ำมีหลายสี นั่นก็เพราะแสงในอากาศเป็นสีขาว เมื่อแสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศจึงทำให้เกิดรุ้งกินน้ำที่มีสีต่างๆอย่างที่เราเห็น และถ้าเรามองใบไม้ เราจะเห็นใบไม้มีสีเขียว เกิดจากแสงกระทบกับวัตถุ และดูดสีอื่นเข้ามา แล้วแสงมากระทบที่ตาเรา จึงทำให้เราเห็นใบไม้เป็นสีเขียว
การทดลอง เรื่อง รุ้งกินน้ำ
-อ่างแก้วน้ำเล็กๆใส่น้ำลงไป
-กระจกเงาแผ่นเล็กๆ
-กระบอกฉีดน้ำ หันหลังให้แสงอาทิตย์แล้วใช้กระบอกฉีดน้ำฉีดน้ำ เราก็จะเห็นรุ้งกินน้ำ

เงากับแสงเป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ
-ถ้าเราส่องไฟไปที่วัตถุจะทำให้เกิดเงา แต่ถ้าเราส่งไฟไปหลายๆด้านจะทำให้เกิดเงาหลายๆด้าน


งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
-อาจารย์ให้เขียน สรุปหลักสูตรปฐมวัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11(30/08/2554)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ให้ส่งโครงการที่ให้ไปเขียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำโครงการเรื่อง "รถ" และอาจารย์ได้อธิบายสาเหตุที่ให้ทำของเล่นจากขวดน้ำว่า ที่ให้ทำของเล่นจากขวดน้ำเพราะขวดน้ำสามารถหาได้ง่าย เป็นสิ่งของเหลือใช้และเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และขวดน้ำยังสามารถขายเพื่อสร้างเป็นรายได้ให้เราได้อีกด้วย อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิม เรื่อง การทำโครงการ อาจารย์พูดถึงเรื่องการทำโครงการของแต่ละกลุ่ม และได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ ที่ประกอบไปด้วย
-สาระ/ความรู้
-ประสบการณ์สำคัญ
- วิธีการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการของเด็ก
จากนั้นสอนการเขียนหน่วยเป็น Mapping ในเรื่องของหน่วยที่เราจะสอน

งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
- เขียนแผน 5 วัน
- ดูโทรทัศน์ครู 1 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แล้วสรุปลงบล็อก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10(23/08/2554)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับหลักการจัดกิจกรรมและการเขียนโครงการ ซึ่งโครงการจะมี3ระยะ ได้แก่
ระยะที่1 เด็กอยากรู้เรื่องอะไร
ระยะที2 ศึกษาลุ่มลึก
ระยะที่3 นำเสนอ
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น อาจารย์จึงได้ยกตัวอย่างการสอนเขียนโครงการ เรื่องกระเป๋า และมีหัวข้อที่อยากรู้ดังนี้
-มีสีอะไร
-มีรูปทรงอย่างไร
-ขนาดของกระเป๋า
-มีราคาเท่าไหร่
-มีขายที่ไหน
-ทำมาจากอะไร
-มีประเภทไหนบ้าง
-ถ้าขาดแล้วทำอย่างไร
-วัสดุที่ใช้
-ประโยชน์
การไปแหล่งเรียนรู้ทำได้โดย
-นั่งรถ
-เดิน
สถานที่ที่เราสามารถเรียนรู้ได้
- ช่างซ่อมกระเป๋า
- ห้องสมุด
- ร้านซ่อมกระเป๋า
- ร้านขายกระเป๋า
- โรงงานผลิต
- อินเตอร์เน็ต
วิธีการนำเสนอ
-แผนที่การเดินทาง
-ซ่อมกระเป๋าได้อย่างไร
-โลโก้
-จดนิทรรศการ
-ส่วนประกอบของกระเป๋า
-งานประดิษฐ์กระเป๋า
-นำเสนอเพลงกระเป๋า
-นิทานกระเป๋า
อาจารย์อธิบายเสร็จก็ได้แบ่งกลุ่มๆละ6คน อาจารย์ให้เขียนโครงการมาส่งอาจารย์กลุ่มละหนึ่งเรื่อง แล้วนำมาส่งในสัปดาห์หน้า จากนั้นอาจารย์ก็ได้เรียกตรวจของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำจากขวดน้ำ ดิฉันทำแว่นขยายมาส่ง อาจารย์ไม่ได้ตำหนิอะไร แต่อาจารย์ให้ไปเขียนขั้นตอนการทำมาส่งในสัปดาห์หน้า








งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
- เขียนโครงการ

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9(16/08/2554)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน วันนี้เป็นวันที่อาจารย์นัดส่งงานประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ อาจารย์ตรวจสอบผลงานของแต่ละคนว่ามีความแข็งแรงหรือไม่ ของเพื่อนบางคนก็หลุดขาด บางคนก็ทนทาน และอาจารย์ได้ถามแต่ละคนว่าที่ทำมาเกี่ยวข้องอะไรกับวิทยาศาสตร์ อาจารย์พยายามให้หาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ของดิฉันทำกังหันไฟฟ้าสถิต มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คือ ไฟฟ้าสถิต เพราะเมื่อถูลูกโป่งกับผม ลูกโป่งจะมีประจุลบเพิ่มขึ้น ลูกโป่งที่มีประจุลบ จะผลักประจุลบบนดาวกระดาษด้านใกล้ ให้ไปอยู่ด้านไกล ทำให้แขนของดาวกระดาษที่อยู่ใกล้ลูกโป่ง มีประจุบวก เมื่อย้ายลูกโป่งไปรอบๆ ประจุลบบนลูกโป่งจะดึงดูดประจุบวกบนแขนดาวด้านใกล้ ทำให้ดาวกระดาษหมุนตาม และเพื่อนๆในห้องก็ทำมามีหลายเรื่อง แต่ที่เพื่อนในห้องทำมาเรื่องของอากาศมักเข้าใจว่าเป็นเรื่องของแรงดัน และอาจารย์ได้ให้คำอธิบายในเรื่องนี้คือ เช่น เรื่องอากาศ ดิฉันจะยกตัวอย่างการเปาลูกโป่งด้วยขวดน้ำ เมื่อเราบีบขวดแล้วอากาศที่อยู่ภายในขวดจะถ่ายเทที่อยู่ไปอยู่ที่ลูกโป่ง จึงทำให้ลูกโป่งพองโตด้วยอากาศ เราจะเห็นได้ว่าอากาศมีตัวตนและอากาศนั้นต้องการที่อยู่ แต่ถ้าเป็นเรื่องแรงดันนั้นวัตถุต้องเคลื่อนที่ถึงจะเรียกว่าแรงดันของอากาศ เช่นการทำรถขวดน้ำของจีจี้ เพราะเมื่อเราเป่าลูกโป่งที่มัดติดกับตัวรถแล้ว จะทำให้มีอากาศอยู่ภายในลูกโป่ง เมื่อเราปล่อยลูกโป่งอากาศถูกปล่อยออกมาทำให้ดันรถเคลื่อนไหวไปข้างหน้า เราจะเห็นได้ว่ารถเคลื่อนไหวด้วยแรงดันของอากาศ



ในวันนี้อาจารย์ได้เปิดวีดีทัศน์ เรื่องน้ำ และดิฉันสามารถสรุปได้จากการดูวีดีทัศน์ได้ดังนี้
เวลาแดดร้อนจะทำให้ร่างกายของคนเราอ่อนเพลีย เพราะเวลาแดดร้อนจะทำให้เรามีเหงื่อออกมาจะทำให้อ่อนเพลีย ร่างกายของเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70% ถ้าเราขาดน้ำ3วันอาจจะทำให้เราตายได้ เวลาเราอ่อนเพลียเราควรดื่มน้ำทดแทน เราควรดื่มน้ำ8แก้วต่อวัน สิ่งที่มีชีวิตในโลกนี้ล้วนต้องการน้ำในการดำรงชีวิตแม้แต่พืช และในพืชมีน้ำ เป็นส่วนประกอบถึง 90%มีมากกว่ามนุษย์เรา
น้ำนั้นมี 3 สถานะ
-สถานะของแข็ง
-สถานะของเหลว
-ก๊าซ
และน้ำยังสามารถเปลี่ยนสถานะได้

-เพื่อนๆรู้หรือไม่คะว่าฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร
ดิฉันสามารถอธิบายได้ว่า น้ำเมื่อโดนความร้อนของแดดกลายเป็นไอ เรียกว่า ก๊าซ หรือที่เราสามารถมองเห็นเป็นก้อนเมฆ เมื่อก้อนเมฆลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าและลอยไปกระทบกับความเย็นของชั้นบรรยากาศของโลก จึงเกิดการควบแน่นและกลายเป็นเม็ดฝนหยุดลงมา

-เพื่อนๆรู้ไหมค่ะว่าเมื่อฝนตกหยุดแล้วน้ำที่ถูกขังเป็นบ่อเล็กๆตามข้างถนนหายไปไหน เพราะเป็นการระเหยของน้ำ น้ำจะระเหยจากผิวหน้าของน้ำ และถ้ามีผิวหน้าของน้ำกว้างจะทำให้น้ำระเหยเร็วขึ้น เพราะบ่อน้ำเล็กๆตามข้างถนนมีหน้าผิวที่กว้างและมีไม่มีความลึก

-เพื่อนๆรู้ไหมค่ะว่าทำไม เราสามารถลอยน้ำทะเลได้ดีกว่าน้ำปกติ เป็นเพราะว่า น้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำปกติ และเกลือยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถดูดความร้อนได้ เราจึงมักเห็นพ่อค้าขายไอศกรีมน้ำเกลือมาใส่ในถังน้ำแข็ง เพื่อเกลือจะได้ดูดความร้อนและทำให้น้ำแข็งละลายช้าลง

-เพื่อนๆรู้เรื่องแรงดันของน้ำไหมค่ะดิฉันสามารถอธิบายได้ดังนี้
แรงดันของน้ำมีแรงกดดันไม่เท่ากัน แรงกดดันของน้ำด้านบนมีแรงกดดันของน้ำน้อย แรงกดดันของน้ำที่อยู่ด้านล่างจะมีแรงกดดันของน้ำมากกว่า คือในระดับความลึกของน้ำจะมีแรงกดดันไม่เท่ากัน ในระดับความลึกจะมีแรงกดดันมากกว่า ในระดับเดียวกันก็จะมีแรงดันเท่ากัน สรุปคือ แรงกดดันของน้ำอยู่ที่ระดับความลึกของน้ำ และนักวิทยาศาสตร์ใช้เรื่องนี้ในการทดลองสร้างเขื่อนเก็บน้ำ

และในวันนี้อาจารย์ได้ให้ทำงานประดิษฐ์เพิ่มจากเดิมและอาจารย์อยากให้ประดิษฐ์จากขวดพลาสติก อาจารย์และเพื่อนๆได้ร่วมกันคิดสิ่งประดิษฐ์จากขวดพลาสติกมามากมายและอาจารย์ก็แบ่งให้กลับไปทำมาส่งในครั้งถัดไป


งานที่ต้องส่ง
- ทำแวนขยายจากขวดพลาสติก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8(8/08/2554)

วันนี้เป็นสัปดาห์แห่งการสอบคะ

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ึึึึ 7(2/07/2554)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆนะคะ วันนี้ดิฉันได้ทำการนำเสนอ งานประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ คือการทำ กังหันไฟฟ้าสถิตย์เป็นการประดิษฐ์ที่ง่าย เด็กๆสามารถทำเองได้ และมีขั้นตอนการทำดังต่อไปนี้

กังหันไฟฟ้าสถิตย์ Electrostatic Fan
กังหันไฟฟ้าสถิตย์ เป็นอุปกรณ์ที่แสดงถึงพลังของไฟฟ้าสถิตย์ที่หลักแหลมตัวหนึ่ง แทนที่จะใช้ลูกโป่งดูดเศษกระดาษเล่นที่เห็นอยู่ทั่วไป นอกจากการเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าสถิตย์แล้ว เด็กๆ ยังจะเข้าใจเรื่องความฝืดอีกเรื่องหนึ่งด้วย ดาวกระดาษที่วางอยู่บนปลายดินสอที่แทบจะไม่มีความฝืดนั้น ทำให้เราสามารถใช้แรงผลักที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตย์ เพื่อหมุนดาวกระดาษไปรอบๆได้

อุปกรณ์ที่ใช้
• กระดาษขนาด A4 - 1 แผ่น : ใช้แล้วก็ได้ครับ
• กรรไกร : เอาไว้ตัดกระดาษ
• ลูกโป่ง : สีอะไรก็ได้ ไม่เกี่ยงจ้า
• ดินสอ : เหลาให้ปลายแหลมๆ นะครับ
• ดินน้ำมัน : ใช้ก้อนเล็กๆ ก้อนเดียวก็พอครับ

ขั้นตอนการประดิษฐ์
1. พับครึ่งกระดาษ A4 จำนวน 2 ครั้ง
2. ใช้กรรไกรตัดกระดาษที่พับแล้ว เป็นมุมแหลม เมื่อคลี่ออก จะได้เป็นรูปดาวสี่แฉก
3. ปักดินสอลงบนก้อนดินน้ำมัน ให้ปลายแหลมชี้ขึ้นข้างบน
4. วางดาวกระดาษบนปลายดินสอ เนื่องจากปลายดินสอมีพื้นที่น้อย จะมีแรงเสียดทานกับกระดาษน้อย ทำให้ดาวกระดาษสามารถหมุนไปรอบๆ ได้อย่างง่ายดาย



เพื่อนๆรู้ไหมค่ะว่าเกิดอะไรขึ้น ?
เมื่อถูลูกโป่งกับผม ลูกโป่งจะมีประจุลบเพิ่มขึ้น ลูกโป่งที่มีประจุลบ จะผลักประจุลบบนดาวกระดาษด้านใกล้ ให้ไปอยู่ด้านไกล ทำให้แขนของดาวกระดาษที่อยู่ใกล้ลูกโป่ง มีประจุบวก เมื่อย้ายลูกโป่งไปรอบๆ ประจุลบบนลูกโป่ง จะดึงดูด ประจุบวก บนแขนดาวด้านใกล้ ทำให้ดาวกระดาษ หมุนตาม

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 (25/07/2554)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคนวันนี้อาจารย์พูดถึงการรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ สิ่งเสพติดและอาจารย์ได้บอกว่าสื่อที่ให้ข้อความรู้มีมากมายได้แก่สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ การจัดนิทรรศการ โปสเตอร์
นอกจากจะมีสื่อเหล่านี้แล้ว เราควรมีการส่งไปรษณีย์ ไปย้ำเตือนให้ลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ สิ่งเสพติด
และมีเพลงให้ฟังเพื่อเป็นการย้ำเตือนอีกทางแล้วเรายังสามารถช่วยกันเดินรณรงค์ เวลาเดินรณรงค์ควรมีการทดลองให้ดู โดยให้เห็นข้อเท็จจริงเพื่อที่จะให้รู้ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดีและสิ่งที่เราพูดมาเราสามารถเขียนเป็นโครงการขึ้นมาได้
จากการรณรงค์ทำให้คนรอบข้างได้ประโยชน์ดังนี้
-ได้ความรู้
-ได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ ลงมือปฏิบัติ
-ได้กระบวนการทำงานจากการเรียงลำดับของโครงการ
-เกิดการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
และที่อาจารย์ได้พูดมาทั้งหมดนี้คือการสรุปโครงการการรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ สิ่งเสพติด

เมื่อข้อความรู้เสร็จอาจารย์ก็ถามว่าข้อความรู้สื่ออะไรถึงตัวเด็ก เพื่อนๆก็ตอบมากมาย แต่ก็ผิดแต่ก็มีเพื่อนคนหนึ่งตอบว่าพูดถึงลักษณะของเด็กและก็เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ข้อความข้างต้นบอกลักษณะของเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้ยกตัวอย่าง ให้บอกลักษณะส้มโอ เพื่อนในห้องทุกคนก็ช่วยกันตอบอย่างสนุกสนาน
อาจารย์ได้พูดถึงเนื้อหาหลายๆหัวข้อมีดังนี้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
1.ทักษะการสังเกตหมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ประสาทสัมผัสทั้ง5 เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ หรือ เหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
-การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
-การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ
-สังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง
2.ความหมายทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยการหาเกณฑ์
-ความเหมือน
-ความแตกต่าง
-ความสัมพันธ์ร่วม
3.ความหมายทักษะการวัด หมายถึง การให้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณสิ่งของที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับ
-รู้จักกับสิ่งของที่จะวัดกำกับ
-การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
-วิธีการที่เราจะวัด
4.ความหมายทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง การพูด การเขียน วาดภาพ และภาษาท่าทางการแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
-บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
-บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
-บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
-จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
5.ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
-ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
-ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-ความสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง
6.ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
หมายถึง การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงาการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ3 มิติ
2.บอกสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
3.บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ
4.บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจก
7.ความหมายทักษะการคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวกการลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุการนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง
1.การนับจำนวนของวัตถุ
2.การบวก ลบ คูณ หาร
3.การนำตัวเลขมากำหนดเพื่อบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย คือ เป็นเกณฑ์การวัด
มาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน
-มาตรฐานที่ 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์
และในวันนี้อาจารย์ก็ได้สอนไว้แค่นี้แล้วก็สั่งงานให้ส่งในอาทิตย์หน้า

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 (19/072554)

สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนทุกคน วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนจึงนำบทความของ นางสาวธนาภรณ์ อำลอย มาเป็นต้นแบบในครั้งนี้ และนางสาวธนาภรณ์ อำลอย ได้เขียนบทความรู้ดังนี้
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้สรุป การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มได้ทำ กลุ่มดิฉันได้ทำกิจกรรม น้ำนมมหัศจรรย์ และอาจารย์ให้สรุปออกมาเป็น Mind map เป็นกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน อุปกรณ์ ผลที่ได้รับ เด็กได้ความรู้อะไรบ้าง เกิดทักษะอะไรบ้าง และหลังจากนั้น อาจารย์ได้พูดคุยกันในเรื่อง โครงการ ลด ละ เลิก บุหรีและสิ่งเสพติดเพื่อถวายแด่พ่อหลวง 84 พรรษา และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียนโครงการนี้ออกมาเป็นของแต่ล่ะกลุ่ม ได้มีการแต่เพลงเพื่อใช้ในการรณรงค์เชิญชวนเกี่ยวกับโครงการนี้
บรรยายกาศในการเรียนในวันนี้ มีความสนุกสนานดี มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันอย่างสนุกสนาน ห้องเรียนมีบรรยากาศน่าเรียน อากาศเย็นสบายดีค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 (12/07/2554)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนองานจากสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มของดิฉันได้เรื่องเกี่ยวกับแนวคิดของนักการศึกษา กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอในรูปแบบที่แปลกใหม่ คือ นำเสนอแบบรายการโทรทัศน์ อาจารย์ก็ได้ให้คำเสนอแนะในการนำเสนองานว่า ผลงานยังไม่ค่อยสมบรูณ์ เพราะเพื่อนในกลุ่มไม่ได้พูดทุกคน จึงทำให้การให้คะแนนไม่เท่ากันอาจารย์ให้ตามการทำงานของแต่ละบุคคล และอาจารย์ให้นำไปปรับปรุงในการนำเสนอครั้งต่อๆไป แล้ววันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษนำกิจกรรมวิทยาศาสตร์มาทดลองในห้องเรียน และกลุ่มของดิฉันได้ทดลองกิจกรรม ลูกเกดเต้นระบำ มีวิธีการทดลองดังนี้
1.นำน้ำโซดาเทใส่แก้ว 1 ใบและน้ำเปล่าเทใส่แก้ว 1 ใบ
2.นำลูกเกดใส่แก้วทั้ง 2 ใบแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกเกดในแก้วทั้ง 2 ใบ
ผลการทดลอง
ลูกเกตที่อยู่ในแก้วน้ำโซดาจะจมลอยสลับกันไปมา แต่ลูกเกตที่อยู่ในน้ำเปล่าจะจมลงไป
สาเหตุที่ทำให้ลูกเกตจมลอยสลับกันไปมา
เพราะน้ำโชดามีกรดและมีความซ่า เมื่อเรานำลูกเกตใส่ลงไปในน้ำโซดา ทำให้ลูกเกตเกิดการลอยตัวขึ้นมาเพราะเกิดจากแรงดันของก๊าซที่อยู่ภายในน้ำโซดาทำให้ลูกเกตเกิดการเคลื่อนไหวลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ที่ 3 ( 05/07/2554)

สวัสดีคะอาจารย์ที่เคารพ วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองาน แต่นักศึกษาทำงานมาในรูปเดิมๆ อาจารย์จึงให้เวลา 20 นาที เพื่อให้คิดการนำเสนองานรูปแบบใหม่ แต่นักศึกษาขอเลื่อนเป็นสัปดาห์หน้าเพื่อให้การนำเสนองานมีรูปแบบที่ดีกว่านี้


++++ งานที่อาจารย์สั่งมีดังนี้
1) นำเสนองานในรูปแบบที่แปลกใหม่
2) แบ่งกลุ่ม 3-4 คนหากิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน สัปดาห์หน้า

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2(28/062554/)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคนนะคะ วันนี้อาจารย์ให้ฟังเพลงแล้วอาจารย์ให้หาคำตอบ 3 ข้อ
1) ฟังเพลงแล้วให้บอกว่าเพลงนี้ให้ความรู้อะไรกับเรา
2) ฟังเพลงแล้วบอกว่าเกี่ยวข้องอะไรกับวิทยาศาสตร์
3) และจะนำความรู้ที่ได้ไปสอนเด็กอย่างไร
1) ฟังเพลงแล้วให้บอกว่าเพลงนี้ให้ความรู้อะไรกับเรา
เพลงนี้ให้วามรู้เกี่ยวกับการระเหยของไอน้ำแล้วกลายเป็นฝน คือพระอาทิตย์ส่องแสงมาสู่แม่น้ำด้วยความร้อนทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำขึ้นสู่ท้องฟ้าและกลายเป็นฝนตกลงมาให้เด็กๆได้เล่น
2) ฟังเพลงแล้วบอกว่าเกี่ยวข้องอะไรกับวิทยาศาสตร์
ทำให้เด็กรู้วัฏจักรของการระเหยของไอน้ำ
3) และจะนำความรู้ที่ได้ไปสอนเด็กอย่างไร
- นำสื่อเพลงที่ได้ไปเป็นขั้นนำ คือให้เด็กฟังเพลงแล้วถามเด็กดูสิจะเป็นจริงหรือเปล่าทำให้เด็กเกิดข้อสงสัย มีการตั้งสมมุติฐาน ทำการทดลอง มีการจดบันทึกหลังการทดลอง และสรุปผลการทดลอง
- ขั้นสอน คือ นำอุปกรณ์มาให้เด็กๆทดลองและให้เด็กๆ ตั้งสมมุติฐาน ทำการทดลอง มีการจดบันทึกหลังการทดลอง และสรุปผลการทดลอง
- ขั้นสรุป คือ เด็กสรุปการทดลองและให้ออกมาบอกสิ่งที่เด็กๆได้บันทึกไว้และครูทวนความรู้ให้เด็กๆ
จากนั้นอาจารย์ก็ให้หาความหมายของวิทยาศาสตร์ และก็ได้สรุปความคิดของเพื่อนที่ได้บอกมาได้ดังนี้ วิทยาศาสตร์หมายความว่า สิ่งที่อยู่รอบๆตัว ทั้งสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและไกลตัวและอาจารย์ได้บอกไว้ว่าเราควรจะสอนเด็กจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและมีความสำคัญกับชีวิตของเด็กก่อนแล้วค่อยๆห่างตัวออกไป จากนั้นอาจารย์ก็ให้ช่วยกันบอกถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์แล้วสรุปได้ดังนี้ คือ ทำให้มนุษย์อยากรู้อยากเห็นและเกิดการทดลอง มีการพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลง เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับแด็กหรือมนุษย์คือ เกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดการทดลอง จากนั้นมนุษย์ก็ลงมือปฏิบัติหรือทดลอง เมื่อทดลองเสร็จทำให้เกิดการค้นพบความรู้และความสามารถในการใช้ทักษะ เสร็จแล้วก็สรุปองค์ความรู้และความสามารถของตน จากนั้นก็ค้นหาและสืบเสาะเพิ่มเติมและก็วนไปสู่การอยากรู้อยากเห็นแบบนี้ไปเลยๆ นอกจากมีความสำคัญกับมนุษย์แล้วยังมีความสำคัญกับสิ่งต่างๆในโลก ทำให้เรารู้คุณลักษณะและคุณสมบัติ
ของสิ่งต่างๆในโลก เราจะนำสิ่งต่างๆในโลกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เราจะนำสิ่งต่างๆในโลกมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร เมื่อเราใช้ประโยชน์เราจะดูเรารักษาสิ่งต่างๆในโลกนี้ได้อย่างไร นอกจากที่กล่าวมานั้นวิทยาศาสตร์ยังมีความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและเราควรมีวิธีการดูแลและป้องกันสิ่งแวดล้อม และเราควรมีวิธีการในการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสม และอาจารย์ก็ได้ถามถึงทฤษฎีพัฒนาการทางสิติปัญญาว่า ถ้าพูดถึงทฤษฎีพัฒนาการทางสิติปัญญาแล้วนักศึกษาคิดถึงใคร ถ้าพูดถึงทฤษฎีพัฒนาการทางสิติปัญญาทำให้ดิฉันคิดถึง เพียเจร์ และอาจารย์ก็ให้ช่วยกันสรุปพัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการทางสติปัญญา คือการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นตอนตามความสามารถทางสติปัญญาแต่ละช่วงอายุ และเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นจึงสรุปเป็น MAP ได้ดงนี้
***วันนี้อาจารย์สั่งงานให้ไปทำมีดังนี้
1) หาความหมายของวิทยาศาสตร์(หาจากหนังสือและเขียนอ้างอิง)
2) หาความสำคัญของวิทยาศาสตร์(หาจากหนังสือและเขียนอ้างอิง)
3) หาพัฒนาการทางสติปัญญาและมีความสำคัญกับสมองอย่างไร
4) ทำงานกลุ่ม และเตรียมตัวนำเสนอ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1 (21/062554/)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคนนะคะ วันนี้เป็นวันแรกที่ดิฉันได้เรียนวิชานี้และได้พบอาจารย์เป็นวันแรก วันนี้อาจารย์ได้ให้เขียนความหมายของวิทยาศาสตร์ตามความคิดของตนเอง และในความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น โดยที่เราสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 รับรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม และอาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชานี้ว่า วิชานี้มีหัวใจสำคัญอะไรบ้าง และเราก็ได้สรุปร่วมกันว่า วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีหัวใจหลักอยู่4 หัวข้อใหญ่ คือ เด็กปฐมวัย วิทยาศาสตร์ การจักการเรียนรู้ และประสบการณ์ ก่อนที่เราจะเรียนเราต้องรู้ถึงพัฒนาการของเด็กก่อนว่าเด็กมีความต้องอะไรและมีความสามารถเท่าใดรู้ถึงวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่วนวิทยาศาสตร์เราต้องรู้ว่าวิทยาศาสตร์คืออะไรและเราต้องสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กคือ สังเกต,ตั้งสมมุติฐาน,ทดสอบ บันทึกและสรุป ส่วนการจัดการเรียนรู้มีการจัดการออกแบบ,วางแผน และส่วนประสบการณ์เราต้องให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้และเรียนรู้และเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดิฉันจะสรุปเป็น MAP ได้ดังนี้