วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุป โทรทัศน์ครู เรื่องฝึกคิดสร้างสรรค์ ด้วยกิจกรรมศิลปะ (อ.เรณู ทองทา)
กระบวนการพัฒนาสมองของเด็กจะทำได้ดีที่สุดในช่วงก่อน 6 ขวบ ดังนั้นกิจกรรมควรเน้นกิจกรรมที่จะกระตุ้นพัฒนาการให้มากที่สุด อ.เรณู ทองทา ได้ริเริ่มกิจกรรมฝึกความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กชั้นอนุบาล 1 ขึ้นมา โดยใช้วิธีการประดิษฐ์ในวิชาศิลปะมาเป็นสื่อให้เด็กคิดสร้างสรรค์ โดยนำวัสดุใกล้ตัวหลากหลายอย่างมาให้เด็กได้ฝึกคิดประดิษฐ์ตามหัวข้อที่ให้ ไม่มีต้นแบบให้ทำตาม เด็กทุกคนมีอิสระในการคิดการทำ เด็กได้ฝึกทักษะประสาทสัมผัสทั้งกล้ามเนื้อมือและตา รวมถึงทักษะทางสังคมอีกด้วย เด็กทุกคนล้วนผ่านขั้นตอนในการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารโดยเริ่มสื่อสารจากสิ่งที่เขาพบเห็นเช่น คน ต้นไม้ บ้าน เด็กจะสามารถวาดฉากประกอบได้ตอนอายุ 5 - 7 ปี บางครั้งการวาดภาพของเด็กยังไม่ต้องการผลลัพธ์ แต่เป็นความต้องการเพื่อฝึกทำซ้ำๆ เมื่อเขามีทักษะมากพอจะเกิดความมั่นใจในความสามารถของตน ควรจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสฝึกหลากหลายรูปแบบ เด็กควรมีความรู้พื้นฐานในการใช้และดูแลอุปกรณ์ก่อน กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กควรเริ่มจากกระดาษ สีเทียน กาว กรรไกร ใช้พู่กันระบายสี ปั้น ตามลำดับเด็กจะเลือกใช้อุปกรณ์ศิลปะตามแนวทางของตน ดังนั้นควรเปิดโอกาสให้เด็กใช้จินตนาการของตนอย่างเต็มที่ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของสมอง ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย เมื่อเด็กมีทักษะมากพอจะเกิดความมั่นใจในความสามารถของตน เด็กจะใช้จินตนาการของตนอย่างเต็มที่ ศิลปะสร้างสรรค์สามารถเชื่อมโยงการทำงานของสมองหลายด้าน และอวัยวะบางส่วนและพัฒนาจินตนาการโดยเชื่อมโยงประสบการณ์ออกมาเป็นภาพ/รูปทรง เด็กจะได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระทางความคิด ผลงานศิลปะสร้างสรรค์เกิดขึ้นจากการคิดและการตัดสินใจของเด็กปฐมวัย กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีหลากหลายลักษณะได้แก่ การวาดภาพ การสร้างผลงานจากสี การปั้น การพิมพ์ การประดิษฐ์ได้แก่ ฉีก ปะ ตัด พับ สร้างสิ่งประดิษฐ์ ต่อเติม และการประดับตกแต่งได้แก่ จัดดอกไม้ จัดห้อง จัดสวน จัดโต๊ะ ฯลฯ ผลงานศิลปะมีทั้งที่เป็นงาน 2 มิติและ 3 มิติ งานศิลปะสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้เพราะความเหมาะสมของงานกับระดับพัฒนาการและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น พู่กันต้องสะอาด กรรไกรต้องหยอดน้ำมัน กาวต้องเหนียว ใช้สะดวก เมื่อเลิกกิจกรรมต้องให้ทุกคนช่วยกันเก็บล้างและเช็ดอุปกรณ์ ดูแลจัดเก็บให้อยู่ในสภาพเดิม แล้วล้างมือให้สะอาด ครูไม่ควรเว้นกิจกรรมบางอย่างไปเพราะอ้างว่าเลอะเถอะ เพราะทุกกิจกรรมล้วนมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกันดังนั้น ก่อนให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะควรให้ใส่ผ้ากันเปื้อนที่เป็นพลาสติกให้เรียบร้อย และดูแลไม่ให้เด็กถอดจนกว่าจะเก็บล้างอุปกรณ์จนเสร็จเรียบร้อย ผลงานของเด็กแต่ละชิ้นไม่ควรประเมินความสามารถโดยการให้ดาวเพื่อเทียบค่าเป็นระดับ เพราะบางครั้งเด็กอาจทำงานเพื่อต้องการฝึกการใช้อุปกรณ์ให้เกิดความชำนาญเท่านั้นแต่ยังไม่ได้สื่อสารศักยภาพทางการคิด ควรบันทึกชื่อ และลงวันที่ที่เขาได้สร้างผลงาน ครูควรนำผลงานของเด็กมาศึกษาและติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางครั้งเด็กอาจสื่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเขาลงไปที่ผลงาน และการวิจารณ์ผลงานเด็กมีผลกระทบต่อจิตใจเกินกว่าจะคาดคิด เพราะคำพูดของครูที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการยับยั้งความสามารถของเด็กและอาจทำให้เกิดการสร้างงานซ้ำซาก(เพราะคิดว่าครูชอบ) การให้เด็กอธิบายผลงานเมื่อเขายังไม่พร้อมเขาอาจบอกชื่อไปเพื่อให้ครูพอใจแต่อาจไม่สอดคล้องกับงานที่ทำ ควรจัดสถานที่ให้เด็กโชว์ผลงาน ผลงานทุกชิ้นควรให้เด็กเขียนชื่อไว้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (27/09/2554)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ได้สรุปเนื้อที่ได้เรียนมา และอาจารย์ยังบอกเป็นความรู้ว่า การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้นั้นต้องดูหลักสูตร ซึ่งในหลักสูตรมี 4 หัวข้อใหญ่ๆด้วยกันคือ
1.ตัวเรา
2.ธรรมชาติรอบตัว
3.สิ่งต่างๆรอบตัว
4.บุคคลและสถานที่
จากนั้นอาจารย์ก็ให้สรุปร่วมกันว่าที่เรียนมานักศึกษาได้ความรู้อะไรบ้าง นักศึกษาร่วมกันสรุปไดดังนี้
- ความหมายวิทยาศาสตร์
- ความสำคัญวิทยาศาสตร์
- หลักการจัดวิทยาศาสตร์
- การเขียนแผน
- วิธีการเรียนรู้
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย
- สาระสำคัญ
- ประโยชน์
- การเขียนโครงการ
- การบูรณาการ
- การใช้คำถาม
- วิธีการประดิษฐ์ของเล่นวิทย์
- กิจกรรมวิทย์ กระบวนการ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การจำแนก

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14( 19/09/2554)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ให้ส่งแผนที่สั่งให้ไปเขียนในสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มของดิฉันทำมาผิด ทำมาเป็นงานศิลปะ แต่อาจารย์ให้เขียนแผนการจัดกิจกรรมแบบเสริมประสบการณ์ เพราะทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด อาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนที่ถูกต้องและยกตัวอย่างให้ฟังจากแผนที่เพื่อนเขียนมาและบอกวิธีแก้ไขให้แก่นักศึกษา ว่าเราควรนำคำคล้องจ้องหรือเพลงมาใช้ ดีกว่าพูดคุยสนทนา อาจารย์สังเกตุว่านักศึกษาเีงียบๆไป อาจารย์จึงถามอย่างเป็นห่วง และรับฟังปัญหาของนักศึกษา พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่นักศึกษา ทำให้ดิฉันรู้สึกดีใจที่อาจารย์รับฟังนักศึกษา แตวันนี้ก็มีเหตุการณ์ที่น่าตกใจ เพราะเพื่อนเป็นลม เนื่องจากมีโรคประจำตัว อาจารย์จึงหยุดสอนและพาเพื่อนไปโรงพยาบาล

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 (13/09/2554 )

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยดังนี้
-เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น รู้จัก ชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา
-เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ เช่น รู้จัก ครอบครัว ญาติ ชุมชน
-ธรรมชาติรอบตัว เช่น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต
-สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เช่น รู้จักสี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก

บูรณาการทักษะวิทยาศาสตร์กับสาระ
-ศิลปะสร้างสรรค์
-เกมการศึกษา
-การเล่นเสรี
-การเคลื่อนไหวและจังหวะ
-กิจกรรมการแจ้ง
-เสริมประสบการณ์
กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การเขียนแผน
วันจันทร์ ลักษณะ รูปร่าง
วันอังคาร แหล่งที่มา
วันพุธ ประโยชน์
วันพฤหัสบดี โทษ
วันศุกร์ การดูแลรักษา

สมรรถณะ
-กาย คือ เรื่องการเล่นเครื่องเล่นสานม
-อารมณ์ คือ ดนตรี เพลง
-สังคม คือ การช่วยเหลือตัวเอง
-สติปัญญา แยกเป็นภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์ ได้แก่การทดลอง การสำรวจ การสังเกตุ

งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
-เขียนแผนส่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละหน่วย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12(06/09/2554)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว คือ คิดหน่วย และการเขียนกิจกรรมในแต่ละวัน บางกลุ่มก้อมี Mind Mapping บางกลุ่มก้อไม่มี และกลุ่มไหนที่ไม่มี Mind Mapping อาจารย์ก็ให้ทำเพิ่มเติมมาส่งในสัปดาห์ต่อไป และอาจารย์ยังให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่เด็ฏจะได้ทั้งทักษะและความรู้ในกิจกรรมเดียวกัน และอาจารย์ให้ไปเขียนหลักสูตรปฐมวัยมาส่งเพราะเนื่องจากไม่มีใครตอบคำถามอาจารย์ได้ว่ามีอะไรบ้าง และอาจารย์ให้ดูวิดีทัศน์ เรื่อง "ความลับของแสง" และสามารถสรุปได้ดังนี้
แสง เป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นในทะเล แต่แสงเดินทางเร็วมาก เดินทางได้เร็วถึง 300,000 กม./นาที เมื่อไม่มีแสงเราก็จะมองไม่เห็น แต่การที่เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้นั้น เพราะแสงมาส่องกับวัตถุต่างๆ และแสงสะท้อนมากระทบตาเรา ตาเป็นเลนส์ในการรับแสง เราจึงเห็นสิ่งต่างๆได้ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียว และไม่มีทิศทาง
วัตถุของแสงมี 3 ชนิด คือ
-แสงที่ทะลุผ่านไปได้ เรียกว่า วัตถุโปรงแสง
-แสงสะท้อนมาที่ตัวเรา เรียกว่า วัตถุโปรงใส
-แสงที่ไม่สามารถผ่านได้ เรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ไม้ หิน เหล็ก รวมถึงตัวเราก็เป็นวัตถุทึบแสงด้วย สาเหตุที่สามารถแยกเป็นวัตถุโปรงแสงได้ เพราะ เราจะมองเห็นภาพบางส่วนแต่มองไม่ชัด สาเหตุที่แยกเป็นวัตถุโปรงใส เพราะ วัตถุที่แสงผ่านไปได้ทั้งหมด ที่เรามองเห็นได้ทุกส่วน เช่น กระจก สาเหตุที่แยกเป็นวัตถุทึบแสง เพราะ แสงไม่สามารถส่องผ่านวัตถุเหล่านั้นได้ นอกจากนั้นแล้วตาของเราจะมีรูเล็กๆ ที่เรียกว่า รู้รับแสง

การสะท้อนของแสง
-เมื่อเรานำตุ๊กตามาวางไว้หน้ากระจก ที่มีกระจก 2 บานต่อกัน เราจะเห็นภาพตุ๊กตา 2 ตัว แต่ถ้าเราเลื่อนกระจกให้เข้ามาอีกก็จะเห็นตุ๊กตาเพิ่มขึ้นมาอีกหลายๆตัว
การทดลอง การสะท้อนของแสง
-ไฟฉาย
-กระจกเงา
วางกระจกไว้บนพื้นแล้วส่องไฟฉายเป็นเส้นตรง แสงก็จะสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงจากนั้นลองส่องไฟฉายไปแนวเฉียง

การหักเหของแสง
-แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ก็ต่อเมื่อ แสงเดินทางผ่านวัตถุคนละชนิดกันจึงทำให้แสงนั้นหักแห
การทดลอง การอ่านหนังสือผ่านแก้วน้ำ
-แก้วใหญ่ใบใหญ่ใส่น้ำให้เต็มนำข้อความมาแก้วน้ำ ตัวหนังสือจะใหญ่กว่าปกติเพราะ การหักเหของแสงทำให้แสงส่องเข้าไปข้างใน หักเหและกระจายออก

แสงสีขาว
-แสงสีขาวที่เรามองเห็นนั้นจะมีทั้งหมด 7 สี ประกอบด้วย สีแดง เหลือง แสด เขียว คราม ม่วง และสีน้ำเงิน สาเหตุที่ทำให้เราเห็นรุ้งกินน้ำมีหลายสี นั่นก็เพราะแสงในอากาศเป็นสีขาว เมื่อแสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศจึงทำให้เกิดรุ้งกินน้ำที่มีสีต่างๆอย่างที่เราเห็น และถ้าเรามองใบไม้ เราจะเห็นใบไม้มีสีเขียว เกิดจากแสงกระทบกับวัตถุ และดูดสีอื่นเข้ามา แล้วแสงมากระทบที่ตาเรา จึงทำให้เราเห็นใบไม้เป็นสีเขียว
การทดลอง เรื่อง รุ้งกินน้ำ
-อ่างแก้วน้ำเล็กๆใส่น้ำลงไป
-กระจกเงาแผ่นเล็กๆ
-กระบอกฉีดน้ำ หันหลังให้แสงอาทิตย์แล้วใช้กระบอกฉีดน้ำฉีดน้ำ เราก็จะเห็นรุ้งกินน้ำ

เงากับแสงเป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ
-ถ้าเราส่องไฟไปที่วัตถุจะทำให้เกิดเงา แต่ถ้าเราส่งไฟไปหลายๆด้านจะทำให้เกิดเงาหลายๆด้าน


งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
-อาจารย์ให้เขียน สรุปหลักสูตรปฐมวัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11(30/08/2554)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ให้ส่งโครงการที่ให้ไปเขียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำโครงการเรื่อง "รถ" และอาจารย์ได้อธิบายสาเหตุที่ให้ทำของเล่นจากขวดน้ำว่า ที่ให้ทำของเล่นจากขวดน้ำเพราะขวดน้ำสามารถหาได้ง่าย เป็นสิ่งของเหลือใช้และเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และขวดน้ำยังสามารถขายเพื่อสร้างเป็นรายได้ให้เราได้อีกด้วย อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิม เรื่อง การทำโครงการ อาจารย์พูดถึงเรื่องการทำโครงการของแต่ละกลุ่ม และได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ ที่ประกอบไปด้วย
-สาระ/ความรู้
-ประสบการณ์สำคัญ
- วิธีการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการของเด็ก
จากนั้นสอนการเขียนหน่วยเป็น Mapping ในเรื่องของหน่วยที่เราจะสอน

งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
- เขียนแผน 5 วัน
- ดูโทรทัศน์ครู 1 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แล้วสรุปลงบล็อก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10(23/08/2554)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับหลักการจัดกิจกรรมและการเขียนโครงการ ซึ่งโครงการจะมี3ระยะ ได้แก่
ระยะที่1 เด็กอยากรู้เรื่องอะไร
ระยะที2 ศึกษาลุ่มลึก
ระยะที่3 นำเสนอ
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น อาจารย์จึงได้ยกตัวอย่างการสอนเขียนโครงการ เรื่องกระเป๋า และมีหัวข้อที่อยากรู้ดังนี้
-มีสีอะไร
-มีรูปทรงอย่างไร
-ขนาดของกระเป๋า
-มีราคาเท่าไหร่
-มีขายที่ไหน
-ทำมาจากอะไร
-มีประเภทไหนบ้าง
-ถ้าขาดแล้วทำอย่างไร
-วัสดุที่ใช้
-ประโยชน์
การไปแหล่งเรียนรู้ทำได้โดย
-นั่งรถ
-เดิน
สถานที่ที่เราสามารถเรียนรู้ได้
- ช่างซ่อมกระเป๋า
- ห้องสมุด
- ร้านซ่อมกระเป๋า
- ร้านขายกระเป๋า
- โรงงานผลิต
- อินเตอร์เน็ต
วิธีการนำเสนอ
-แผนที่การเดินทาง
-ซ่อมกระเป๋าได้อย่างไร
-โลโก้
-จดนิทรรศการ
-ส่วนประกอบของกระเป๋า
-งานประดิษฐ์กระเป๋า
-นำเสนอเพลงกระเป๋า
-นิทานกระเป๋า
อาจารย์อธิบายเสร็จก็ได้แบ่งกลุ่มๆละ6คน อาจารย์ให้เขียนโครงการมาส่งอาจารย์กลุ่มละหนึ่งเรื่อง แล้วนำมาส่งในสัปดาห์หน้า จากนั้นอาจารย์ก็ได้เรียกตรวจของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำจากขวดน้ำ ดิฉันทำแว่นขยายมาส่ง อาจารย์ไม่ได้ตำหนิอะไร แต่อาจารย์ให้ไปเขียนขั้นตอนการทำมาส่งในสัปดาห์หน้า








งานที่ส่งสัปดาห์หน้า
- เขียนโครงการ